Читать книгу กลับสู่ผืนโลก - Danilo Clementoni - Страница 7

บทนำ

Оглавление

ที่จริงดาวนิบิรุ (ดาวเคราะห์แห่งผู้ล่วงลับ) อย่างที่ชาวซูเมเรียนเรียก หรือมาร์ดุค (ราชาแห่งสวรรค์) อย่างที่ชาวบาบิลอนเรียก ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ดวงที่สิบสองนั้น เป็นเทหวัตถุในอวกาศที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ของเราโดยใช้ระยะเวลา 3,600 ปี วงโคจรเป็นวงรีมาก สวนทาง (หมุนรอบดวงอาทิตย์ในทิศทางตรงกันข้ามกับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ) และทำมุมเอียงกับระนาบของระบบสุริยะของเราอย่างชัดเจน

การโคจรแต่ละรอบได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระหว่างดาวเคราะห์ขนานใหญ่ในระบบสุริยะของเราเกือบทุกครั้งทั้งในด้านวงโคจรและโครงรูปของดาวเคราะห์ที่ประกอบเป็นระบบนี้ ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงที่สับสนวุ่นวายมากครั้งหนึ่งนั่นเองที่ดาวเคราะห์ดวงโตที่ชื่อเทียแมต ซึ่งอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสด้วยมวลประมาณเก้าเท่าของมวลโลกทุกวันนี้ และอุดมไปด้วยน้ำและกอปรด้วยดาวบริวารสิบเอ็ดดวง ถูกทำลายไปเมื่อเกิดการชนอย่างรุนแรง ดวงจันทร์หนึ่งในเจ็ดดวงที่โคจรรอบนิบิรุชนเข้ากับเทียแมตยักษ์ ผ่ากลางมันและเหวี่ยงซีกทั้งสองไปโคจรในทิศทางตรงกันข้าม ดาวบริวารดวงที่เหลือของนิบิรุทำให้กระบวนการนี้อวสานลงในการเปลี่ยนแปลงครั้งถัดมา (“วันที่สอง” แห่งปฐมกาล) โดยทำลายหนึ่งในสองซีกที่เกิดจากการชนครั้งแรกจนหมดสิ้น เศษหินที่เกิดจากการชนหลายครั้งทำให้เกิดสิ่งที่เวลานี้เรารู้จักกันในชื่อ “แถบดาวเคราะห์น้อย” หรือ “กำไลสวรรค์” อย่างที่ชาวซูเมเรียนเรียก ดาวเคราะห์เพื่อนบ้านกลืนกินมันเข้าไปบางส่วน โดยเฉพาะดาวพฤหัสเป็นดาวที่จับเศษหินส่วนใหญ่ไว้ จึงเพิ่มมวลของมันเองอย่างเห็นได้ชัด

สิ่งที่เกิดขึ้นจากดาวบริวารจากหายนะครั้งนี้ซึ่งรวมถึงที่รอดจากเทียแมตนั้นถูก “ยิงออกไป” สู่วงโคจรชั้นนอกๆ เกิดเป็นสิ่งที่ขณะนี้เรารู้จักกันในนาม “ดาวหาง” ปัจจุบันส่วนที่รอดจากการเปลี่ยนแปลงครั้งที่สองอยู่ในวงโคจรอันเสถียรระหว่างดาวอังคารกับดาวศุกร์โดยมีดาวบริวารที่เหลือดวงสุดท้ายติดไปกับมันด้วย จึงเกิดเป็นสิ่งที่ขณะนี้เราเรียกว่าโลกและดวงจันทร์ ซึ่งเป็นเพื่อนที่แยกจากกันไม่ได้

แผลเป็นที่เกิดจากการชนกันในจักรวาลซึ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 4 พันล้านปีที่แล้วยังคงมองเห็นได้บางส่วนในทุกวันนี้ ขณะนี้น้ำปกคลุมท่วมส่วนแผลเป็นของดาวเคราะห์ในส่วนที่เรียกว่ามหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งกินพื้นที่ประมาณหนึ่งในสามของพื้นผิวโลกโดยแผ่กว้างครอบคลุมอาณาเขต 179 ล้านตารางกิโลเมตร บนพื้นที่มหาศาลนี้ไม่มีผืนดินขนาดใหญ่ใดอยู่เลย แต่มีหลุมขนาดใหญ่ลึกกว่าสิบกิโลเมตรอยู่แทน

ปัจจุบันดาวนิบิรุมีโครงรูปเหมือนโลกมาก สองในสามส่วนปกคลุมด้วยน้ำในขณะที่ส่วนที่เหลือปกคลุมด้วยทวีปเดียวที่แผ่จากทิศเหนือไปทิศใต้โดยมีพื้นผิวรวมกว่า 100 ล้านตารางกิโลเมตร ผู้อยู่อาศัยบางส่วนได้ฉวยประโยชน์จากการที่ดาวเคราะห์ของตนอยู่ใกล้กับของเราเองมาเป็นเวลาหลายแสนปีแล้วโดยมาเยี่ยมเป็นประจำ แต่ละครั้งก็ส่งอิทธิพลต่อวัฒนธรรม ความรู้ เทคโนโลยีและวิวัฒนาการของมนุษยชาติเอง บรรพบุรุษของเราเรียกพวกเขาหลายแบบ แต่ชื่อที่ใช้แทนได้ดีที่สุดน่าจะเป็น “เทพเจ้า”

กลับสู่ผืนโลก

Подняться наверх